วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 20 November 2015

ศึกษาดูงาน
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558
(National Science and Technology Fair)
ณ ชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2558





พลังงานลม


พลังงานลม กิจกรรมนี้เขาให้ปั้มลมให้กังหันหมุ่น ต้องออกแรงปั้มเยอะเพื่อที่ลมที่เราปั้มจะไปกระทบกับกังหันและทำให้กังหันหมุ่น



ห้องมหัศจรรย์แห่งแสง


ห้องมหัศจรรย์แห่งแส่ง ในห้องนี้เขาจะนำกระจกวางเมือนดังภาพ และฉายแสงเพื่อให้เกิดการสะท้อนของแสง ละจะเกิดภาพหลายภาพ



ของเล่นที่ทำให้เกิดเสียง


ของเล่นชิ้นนี้เป็นเสียงร้องของกบ เมื่อเราเอาไม้ไปถูหลังกบเสียงจะดังขึ้นและเสียงจะเหมือนกับเสียงกบร้อง เสียงร้องจะแตกต่างกันไปตามขนาดของตัวเจ้ากบ



ภาพภายในงาน



 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-เจ้าหน้าในงานมีเทคนิคการสอนต่างๆแตกต่างกันไป สอนทำเสียงของกบ สอนการหมุนกังหันลม เป็นต้น
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ได้รู้จักวิทยาศาสตร์ในหลายๆเรื่องอย่างละเอียดและเต็มศักยภาพ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคต่างๆไปใช้กับเด็ก
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-เจ้าหน้าในงาน แต่ละบูทได้ให้ความรู้อย่างดีย่างเต็ม

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 24 November 2015

Diary Note No.15


-เพื่อนนำเสนอ วิจัย บทความ และโทรทัศน์ครู

เลขที่ 15  เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

เลขที่ 24 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

เลขที่ 25 เรื่อง สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ  ใช้นวัตกรรมมาทามโปรแกรมการเรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัว เน้นเด็กเป็นศูนย์

 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกเพิ่มเติมจากบทความ โทรทัศน์ครู วิจัยอย่างละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทางวิทยาศาสตร์
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ได้เรียนรู้เกี่ยววิจัย บทความและโทรทัศน์ครูต่างๆ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคต่างๆไปใช้กับเด็ก
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกความรู้อย่างเต็มที่



วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์ของ สุมาลี หมวดไธสง
มหาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีพ.ศ. 2554

ความสำคัญของงานวิจัย
เป็นการเผยเพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกกรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ ได่้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตาม  ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  สุวรรณภูมิ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สมุทรปราการ
2.การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการศึกษาหาความรู้ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยพานักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน เพื่อศึกษาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกห้องเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเดิดความรู้จากประสบการณ์ตรงในสภาพที่เป็นจริง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอยด้วยขั้นตอนหลักๆคือ การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐานหรือคาดการณ์คำตอบ การออกแบบวิธีการเก็กรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล การลงข้อสรุปและการสั่งการ ซึ่งกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนในงานวิจัยนี้ จะบูรณาการการจัดกิจกรรมแต่ละวันตามขั้นตอนดังนี้
2.1.ขั้นนำเป็นการนำสู้บทเรียน โดยการสนทนากระตุ้นให้เด็กคิด
2.2.ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นการนำเอาวิธีการสอนแบบเล่านิทาน แบบอภิปราย แบบสาธิต การเล่มเกมการปฏิบัติทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนเข้ามาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบ
2.3.ขั้นสรุป เป็นการสรุปผลภายหลังจากการเล่านิทาน การอภิปรายการสาธิตการเล่นเกม การปฏิบัติทดลอง และการศึกษานอกห้องเรียนโดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่การสรุปผล
3.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หมายถึงความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อค้นสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในการใช่เหตุผลแยกแยะ ความเหมือน ความแตกต่างของข้อมูลที่ได้รับ การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน แบ่งย่อยออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1.การจัดหมวกหมู่ คือ ความสามารถในการรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันที่ได้จากการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบมาไว้เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ สิ่งของ โดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้น
2.การหาความสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล จำแนกแยกแยะ พิจารณา ไตรตรอง วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
โดยใช้แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่และด้านการหาความสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1.การจัดหมวดหมู่
2.2.การหาความสัมพันธ์

ระยะเวลาการวิจัย
การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00-10.40 น. โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2.นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3.ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้กิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที

สรุปผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของ ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบานการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Diary Note 17 November 2015

Diary Note No.14


ทำคุกกิ้ง(cooking)

บัวลอย แบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 ผสมแป้งและสีให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 ปั้นแป้งเป็นรูปวงกลมเล็กๆ
ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้มาใส่ในหม้อพอแป้งลอยก็ตักขึ้นและราดด้วยน้ำกะทิพร้อมรับประทาน



บลูเบอรี่ชีสพายแบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 นำโอริโอ้มาบดพร้อมใส่เนยที่ละลายมาแล้วผสมให้เข้ากัน
ฐานที่่ 2 นำครีมชีส มะนาว โยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง ตีให้เข้ากันแล้ว
ฐานที่ 3 นำบลูเบอรี่มาราดหน้าครีมที่ผสมมาและตกแต่งด้วยช็อคชิพเยลลี่




ไอศครีม แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน

อุปกรณ์ นมสด เกลือ น้ำแข็ง ถึงซิปล็อค นมข้นหวาน วิปครีม 

วิธีทำ นำนมสด นมข้น วิปครีม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทใส่ถุงซิปล็อคขนาดเล็กและนำน้ำแข็งเกลือและนมสดที่ใส่ในถุงขนาดเล็กมาใส่ถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ และเขย่าจนกว่านมสดจะแข็งเป็นไอศครีม พอแข็งให้ตักแบ่งใส่ถ้วนและตกแต่งด้วยช็อคชิฟวิปครีมพร้อมรับประทาน




 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 10 November 2015

Diary Note No.13


ทำคุกกิ้ง(cooking)


วาฟเฟิล จะแบ่งเป็น กลุ่ม โดยกลุ่มละ 3 คน โดยมี แป้ง ไข่ นม และน้ำ ตีให้เข้ากัน จากนั้นนำแป้งที่ผสมไปเทใส่เตาวาฟเฟิลพอสุกก็นำมาตกแต่ง



ข้าวทาโกยากิ จะแบ่งเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ตอกไข่และใส่ข้าวผสมให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 นำไปปรุงรส
ฐานที่ 3 นำไปใส่หลุม พลิกไปมาจนสุก
ฐานที่ 4 ราดซอสตกแต่งด้วยส่าหร่าย พร้อมรับประทาน


วาฟเฟิลกับข้าวทาโกยากิที่ทำสำเร็จ 


ตรวจแผนการทดลองและคุกกิ้ง




เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 3 November 2015

Diary Note No.12


อาจารย์ตรวจแผนและบอกข้อบกพร่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม 
แผนการทำคุกกิ้งและการทดลองโดยในแผนต้องมี

วัตถุประสงค์ ต้องควบคลุมทั้ง 4 ด้านของเด็ก

สาระที่ควรรู้ จะให้เด็กได้รู้จิงๆและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ

กิจกรรมการรู้ ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างถูกต้อง

แหล่งการเรียนรู้และสื่อ คือวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

การวัดและประเมินผล วัดจากการสังเกตเด็ก

บูรณาการโดยเกี่ยวข้องกับวิชาอื่นๆได้


เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกการเขียนแผนอย่างละเอียด
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การเขียนแผนการสอนอย่างถูกต้อง
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำการเขียนแผนที่ถูกต้องไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกข้อบกพร่องของการเขียนแผนของนักศึกษาแต่บอกสิ่งที่ถูกต้อง

Diary Note 27 Octorber 2015

Diary Note No.11


อาจารย์ให้ทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้กระดาษมาแบ่งกันและให้พับ ตัดเป็นรูปดอกไม้สี่แฉกพร้อมระบายสี และให้พับกรีบทั้งสี่กรีบเข้ามาเป็นวงกลม และนำดอกไม้วางในน้ำ จะเห็นได้ว่าดอกไม้จะค่อยๆบาน เนื่องจากน้ำเข้าไปแทนที่กระดาษ ดอกไม้จึงบานออก ดอกไม้ขนาดเล็กจะบานเร็วกว่าขนาดใหม่เพราะมีพื้นที่น้อยน้ำจึงดูดซึมได้เร็วและดีกว่า

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ขวดน้ำมา1 ขวดที่เจาะรูไว้สามรู พร้อมกับน้ำ และให้เทน้ำลงไปในขวดและให้นักศึกษาทายว่ารูไหนจะพุ่งไกลกว่ากัน จากผลการทดลองคือ รูล่างพุ่งไกลที่สุดเพราะมีแรงดันมากกว่ารูอื่นๆส่วนรูบนพุ่งได้น้อย
ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ให้ขวดน้ำและอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นภูเขา อาจารย์ให้เทน้ำใส่ขวดระหว่างเทน้ำ น้ำจะไหลผ่านสายยางและพุงออกเป็นน้ำพุง โดยมีแรงดันจึงทำให้เกิดน้ำพุงและเมื่อน้ำพุ ขึ้นสูงสุดท้าย น้ำที่ขึ้นสูงก็ต้องตกลงสู้ที่ต่ำเสมอ

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 4 อาจารย์ให้หลอดกับเชือกไหมพรม มาโดยให้สอดเชือกใส่เข้าไปในหลอดและเป่า ขณะเป่าเชือกไหมพรมก็จะเคลื่อนที่ออกจากหลอด


กิจกรรมที่ 5 อาจารย์ให้กระดาษพร้อมกับคลิปเสียบกระดาษและให้พับตัด เป็นรูปร่างตามภาพ พอทำเสร็จแล้วก็นำไปโยนขึ้นของบน และอากาศก็จะคอยพยุงให้ลงมาช้าๆ

ภาพกิจกรรม

กิจกรรมที่ 6 จุดเทียนที่มีน้ำอยู่รอบๆ หลังจากนั้นนำแก้วมาครอบเทียน จะเห็นว่าไฟดูดน้ำเข้ามาในแก้วทั้งหมด พอน้ำเข้ามาแทนที่อากาศ เทียนก็จะดับลง
ภาพกิจกรรม

กิจกรรมที่ 7 อาจารย็นำกระจกมาต่อกันสองแผ่นและรูปนำมาวางไว้ จะเห็นว่าจะมีรูปภาพรอบ360องศา เพราะกระจกเกิดการสะท้อนแสง
ภาพกิจกรรม

เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ให้นักศึกษาได้ลงมือทดลองเอง และให้ช่วยกันระดมความคิด
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการทดลอง การประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำของเล่นและการทดลองไปประยุกต์ใช้ได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์และการทดลองอย่างละเอียด