วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์ของ สุมาลี หมวดไธสง
มหาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีพ.ศ. 2554

ความสำคัญของงานวิจัย
เป็นการเผยเพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกกรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ ได่้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตาม  ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  สุวรรณภูมิ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สมุทรปราการ
2.การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการศึกษาหาความรู้ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยพานักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน เพื่อศึกษาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกห้องเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเดิดความรู้จากประสบการณ์ตรงในสภาพที่เป็นจริง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอยด้วยขั้นตอนหลักๆคือ การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐานหรือคาดการณ์คำตอบ การออกแบบวิธีการเก็กรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล การลงข้อสรุปและการสั่งการ ซึ่งกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนในงานวิจัยนี้ จะบูรณาการการจัดกิจกรรมแต่ละวันตามขั้นตอนดังนี้
2.1.ขั้นนำเป็นการนำสู้บทเรียน โดยการสนทนากระตุ้นให้เด็กคิด
2.2.ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นการนำเอาวิธีการสอนแบบเล่านิทาน แบบอภิปราย แบบสาธิต การเล่มเกมการปฏิบัติทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนเข้ามาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบ
2.3.ขั้นสรุป เป็นการสรุปผลภายหลังจากการเล่านิทาน การอภิปรายการสาธิตการเล่นเกม การปฏิบัติทดลอง และการศึกษานอกห้องเรียนโดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่การสรุปผล
3.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หมายถึงความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อค้นสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในการใช่เหตุผลแยกแยะ ความเหมือน ความแตกต่างของข้อมูลที่ได้รับ การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน แบ่งย่อยออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1.การจัดหมวกหมู่ คือ ความสามารถในการรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันที่ได้จากการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบมาไว้เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ สิ่งของ โดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้น
2.การหาความสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล จำแนกแยกแยะ พิจารณา ไตรตรอง วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
โดยใช้แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่และด้านการหาความสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1.การจัดหมวดหมู่
2.2.การหาความสัมพันธ์

ระยะเวลาการวิจัย
การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00-10.40 น. โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2.นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3.ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้กิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที

สรุปผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของ ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบานการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น