วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 22 September 2015

Diary Note No.6

Substance

  • นำเสนอที่สัปดาห์ที่แล้วไม่ได้นำเสนอ คือเรื่องสัตว์ พลังงานลม ดินทรายหิน พืช
  • พัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งที่เด็กบอกว่าทำไรได้บ้างไม่ได้บ้าง
  • อาจารย์ให้ไปเอาของประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนอีกเซกหนึ่งประดิษฐ์ไว้มาและบอกว่าสิ่งที่เราเอามาคือเรื่องอะไรและทำอย่างไรที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม อย่างเช่น สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นตาชั่ง ก็จะเกี่ยวกับมวลของสิ่งของที่เอามาช่าวงและยังสามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปวางไว้ตามมุมเพื่อให้เด็กได้หยิบเล่นได้บ่อยครั้ง
เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ใช้สื่อที่นักศึกษาประดิษฐ์มาเป็นการเรียนการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละเรื่อง 
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำทักษะต่างๆไปประยุกต์ใช้ในรุ่นต่อๆไป
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์อย่างละเอียด

Diary Note 15 September 2015

Diary Note No.5

Substance
แจกกระดาษคนละ1ใบ และให้เขียนการทำงานของสมองมีอะไร้บางและให้แชร์ความรู้กันในห้อง


หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก
กีเซล (Gesell)
  • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ควรเร่งรีบ
  • การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา (language) การปรับตัวเข้าสู่สังคมบุคคลรองข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
  • จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
  • จัดกิจกรรมให็เด็กได้ฟัง ได้ท่องจำ นิทาน ร้องเพลง
ฟรอยด์ (Freud)
  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโต
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
  • จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน
  • จัดสิ่งแวดล้อม บ้าน และโรงเรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพ
อิริคสัน ( Erikson )
  • ถ้าเด็กอยู่ในสังคมที่เด็กพอใจ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่น
  • ถ้าเด็กอยู่ในสงคมที่ไม่ดี เด็กจะมองโลกในแง่แย่ ขาดความไว้วางใจ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบความสำเร็จ พึงพอใจในสภาพแวดล้อมที่ดี
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กได้มีโอกาศ สร้างปฏิสัมพันธ์
เพียเจต์ ( Piaget) 
  • พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบรอบตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิมความคิดและความหมายมากขึ้น
  • พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0-6 ปี 
      1) ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0-2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุด้าน 
      2) ความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 เดือน 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร

แนวปฏิบัติพัฒนาการเด็ก 
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมสำรวจทดลองกิจกรรมประกอบอาหารทัศนศึกษา
  • จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ เช่น การเล่นเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริงการสำรวจทดลอง
  • จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวเรียนรู้จักหน่วยตามความสนใจและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อน
ดิวอี้ ( Dewey)
  • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ Learning by doing
แนวปฏิบัติพัฒนาการเด็ก     
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
สกินเนอร์ (Skinner) 
  • ถ้าเด็กได้รับคำชมเชยและประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กจะสนใจที่จะทำต่อไป
  • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างไม่มีใครเหมือนใคร
แนวปฏิบัติพัฒนาการเด็ก     
  • ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
  • ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi)
  • ความรักเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่ควรบังคับเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดเตรียมความพร้อมให้ความรักให้เวลา
เฟรอเบล ( Froeble)
  • ส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
เอลคายน์ ( Elkind )
  • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตราย เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง จัดบรรยากาสให้เด็กได้มีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมด้วยตัวเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
สรุป
แนวคิดพื้นฐานทางวิมยาศาสตร์
1การเปลี่ยนแปลง
2ความแตกต่าง
3การปรับตัว
4การพึ่งพาอาศัยกัน
5ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1ขั้นกำหนดปัญหา
2ขั้นตั้งสมมติฐาน
3ขั้นรวบรวมข้อมูล
4ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1ความอยากรู้อยากเห็น
2ความเพียรพยายาม
3ความมีเหตุผล
4ความซื่อสัตย์
5ความมีระเบียบและรอบคอบ
6ความใจกว้าง

นำเสนอบทความ เลข 1-3

เลข 1 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เช่น การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ

เลขที่ 2 สอนลูกเรื่องปรากฎกาณ์ทางธรรมชาติ
     การเรียนรู้ทางปรากฎการณ์ทางธรรมชาติดส่งเสริมพัฒนาการทางด้าน ทักษะการค้นพบ อธิบาย ปฏิบัติ จำแนก เปรียบเทียบ

เลขที่ 3 แนวทาง สอนคิด เติมวิทยาศาสตร์ ให้กับเด็กอนุบาล
  1. ตั้งคำถาม
  2. ให้เด็กออกไปหาคำตอบ
  3. อธิบายเสริมจากคำตอบของเด็ก
  4. เด็กมานำเสนอให้เพื่อน
  5. นำข้อมูลไปเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์
เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ใช้สือเป็นเพอเวอพอยในการสอนหรือบรรยายเนื้อหาต่างๆและเริ่มจากหลักการแล้วมาสรุปหลักการ
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-รู้เรื่องวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับนักทฤษฎีหลายๆคน
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำทักษะต่างๆไปประยุกต์ใช้ในรุ่นต่อๆไป
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์แบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาอย่างเต็มที่

Diary Note 8 September 2015

Diary Note No.4


Substance
แจกกระดาษและให้ทำกระดาษให้เข้ากับเนื้อหาทางวิทยาศาตร์
ปั้นกระดาษเป็นลูกกลมๆเกี่ยวกับเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกโดยการโยนกระดาษขึ้นไปสิ่งของก็จะตกลงมาอยู่ที่พื้นเพราะโลกมีแรงดึงดูงทำให้กระดาษตกลงมา

-ลม (wind) คือ อากาศที่เคลื่อนที่
-อากาศ (air) คือ สิ่งทีีมองไม่เห็นแต่ มีตัวตน และต้องการที่อยู่ ซึ่งถ้าอากาศเคลื่อนที่จะกลายเป็นลม และลมก็จะทำให้เกิดพลังงาน (energy)
-แสง (light) จะไม่สามารถผ่านวัตุได้ จึงทำให้เกิดเป็นเงา ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง
-อาจารย์นำทฤฎีของเพียเจย์มาสอดคล้องกับการเรียนการสอน 
1.ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) หมายถึง การที่เด็กนำเอาความรู้ใหม่ เข้าไปผสมผสากลมกลืนกับครวามรู้เดิมที่มีอยู่
2.การจัดประขยายโครงสร้าง (Accommodation)  หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิิดให็เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม


เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ใช้สือเป็นเพอเวอพอยในการสอนหรือบรรยายเนื้อหาต่างๆและเริ่มจากหลักการแล้วมาสรุปหลักการ
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-รู้เรื่องวิทยาศาสตร์เรื่อง ลม อากาศ แสง และเรื่องต่างๆ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำทักษะต่างๆไปประยุกต์ใช้ในรุ่นต่อๆไป
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์แบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาอย่างเต็มที่

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 1 September 2015

Diary Note No.3

Substance
อาจารย์ให้เข้าร่วมงานศึกษาศาสตร์วิชาการ
สถานที่ใต้ตึก 28
ตอนเช้าเข้าอบรมความรู้เรื่องทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 (The Skills of people in the 21st Century)

     Learning 3R x 7C
3R
  1. Reading (อ่านออก)
  2. (W)Riting (เขียนได้)
  3. (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C
  1. Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ทักษะในการแก้ปัญหา)
  2. Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรฒ)
  3. Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
  4. Collaboration,Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ)
  5. Communication,Information, and media Literacy (ทักษะ้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
  6. Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  7. Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้)
คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21 (Features of Teacher in the 21st Century)
  1. Expanded มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนสู่นักเรียนผ่านเทคโนโลยี
  2. Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่
  3. Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย
  4. Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้ใมห่ๆ เพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
  5. Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธ์ยุติกรรม และ ความสามารถในการประเมินผล
  6. End-User เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า ใช้ได้อย่างหลากหลาย
  7. Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  8. Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยีจนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ
สรุปคือ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม"สาระวิชา" ไปสู่การเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แบบ PBL ของนักเรียนซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง

รูปภาพบรรยากาศภายในงานช่วงเช้าตอนเข้าไปร่วมอบรม

ช่วงบ่ายศึกษาตามซุ้มวิชาการต่างๆ




เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ใช้สือเป็นเพอเวอพอยในการสอนหรือบรรยายเนื้อหาต่างๆ
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ได้ความรู้กระบวนการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำทักษะต่างๆไปประยุกต์ใช้ในรุ่นต่อๆไป
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-