วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์ของ สุมาลี หมวดไธสง
มหาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีพ.ศ. 2554

ความสำคัญของงานวิจัย
เป็นการเผยเพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกกรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ ได่้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตาม  ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  สุวรรณภูมิ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สมุทรปราการ
2.การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการศึกษาหาความรู้ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยพานักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน เพื่อศึกษาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกห้องเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเดิดความรู้จากประสบการณ์ตรงในสภาพที่เป็นจริง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอยด้วยขั้นตอนหลักๆคือ การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา การสร้างสมมุติฐานหรือคาดการณ์คำตอบ การออกแบบวิธีการเก็กรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล การลงข้อสรุปและการสั่งการ ซึ่งกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนในงานวิจัยนี้ จะบูรณาการการจัดกิจกรรมแต่ละวันตามขั้นตอนดังนี้
2.1.ขั้นนำเป็นการนำสู้บทเรียน โดยการสนทนากระตุ้นให้เด็กคิด
2.2.ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นการนำเอาวิธีการสอนแบบเล่านิทาน แบบอภิปราย แบบสาธิต การเล่มเกมการปฏิบัติทดลองและการศึกษานอกห้องเรียนเข้ามาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบ
2.3.ขั้นสรุป เป็นการสรุปผลภายหลังจากการเล่านิทาน การอภิปรายการสาธิตการเล่นเกม การปฏิบัติทดลอง และการศึกษานอกห้องเรียนโดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่การสรุปผล
3.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หมายถึงความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อค้นสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในการใช่เหตุผลแยกแยะ ความเหมือน ความแตกต่างของข้อมูลที่ได้รับ การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน แบ่งย่อยออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1.การจัดหมวกหมู่ คือ ความสามารถในการรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันที่ได้จากการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบมาไว้เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ สิ่งของ โดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้น
2.การหาความสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล จำแนกแยกแยะ พิจารณา ไตรตรอง วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
โดยใช้แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่และด้านการหาความสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1.การจัดหมวดหมู่
2.2.การหาความสัมพันธ์

ระยะเวลาการวิจัย
การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00-10.40 น. โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2.นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3.ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้กิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที

สรุปผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของ ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบานการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Diary Note 17 November 2015

Diary Note No.14


ทำคุกกิ้ง(cooking)

บัวลอย แบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 ผสมแป้งและสีให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 ปั้นแป้งเป็นรูปวงกลมเล็กๆ
ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้มาใส่ในหม้อพอแป้งลอยก็ตักขึ้นและราดด้วยน้ำกะทิพร้อมรับประทาน



บลูเบอรี่ชีสพายแบ่งเป็น 3 ฐาน
ฐานที่ 1 นำโอริโอ้มาบดพร้อมใส่เนยที่ละลายมาแล้วผสมให้เข้ากัน
ฐานที่่ 2 นำครีมชีส มะนาว โยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง ตีให้เข้ากันแล้ว
ฐานที่ 3 นำบลูเบอรี่มาราดหน้าครีมที่ผสมมาและตกแต่งด้วยช็อคชิพเยลลี่




ไอศครีม แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน

อุปกรณ์ นมสด เกลือ น้ำแข็ง ถึงซิปล็อค นมข้นหวาน วิปครีม 

วิธีทำ นำนมสด นมข้น วิปครีม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทใส่ถุงซิปล็อคขนาดเล็กและนำน้ำแข็งเกลือและนมสดที่ใส่ในถุงขนาดเล็กมาใส่ถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ และเขย่าจนกว่านมสดจะแข็งเป็นไอศครีม พอแข็งให้ตักแบ่งใส่ถ้วนและตกแต่งด้วยช็อคชิฟวิปครีมพร้อมรับประทาน




 เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 10 November 2015

Diary Note No.13


ทำคุกกิ้ง(cooking)


วาฟเฟิล จะแบ่งเป็น กลุ่ม โดยกลุ่มละ 3 คน โดยมี แป้ง ไข่ นม และน้ำ ตีให้เข้ากัน จากนั้นนำแป้งที่ผสมไปเทใส่เตาวาฟเฟิลพอสุกก็นำมาตกแต่ง



ข้าวทาโกยากิ จะแบ่งเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ตอกไข่และใส่ข้าวผสมให้เข้ากัน
ฐานที่ 2 นำไปปรุงรส
ฐานที่ 3 นำไปใส่หลุม พลิกไปมาจนสุก
ฐานที่ 4 ราดซอสตกแต่งด้วยส่าหร่าย พร้อมรับประทาน


วาฟเฟิลกับข้าวทาโกยากิที่ทำสำเร็จ 


ตรวจแผนการทดลองและคุกกิ้ง




เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกวิธีการสอนทำคุกกิ้งแต่ละกลุ่ม เป็นฐานหรือเป็นกลุ่ม
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การสอนคุกกิ้งของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำเทคนิคการสอนไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกเทคนอคการสอนอย่างละเอียด และบอกขั้นตอนการสอน

Diary Note 3 November 2015

Diary Note No.12


อาจารย์ตรวจแผนและบอกข้อบกพร่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม 
แผนการทำคุกกิ้งและการทดลองโดยในแผนต้องมี

วัตถุประสงค์ ต้องควบคลุมทั้ง 4 ด้านของเด็ก

สาระที่ควรรู้ จะให้เด็กได้รู้จิงๆและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ

กิจกรรมการรู้ ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างถูกต้อง

แหล่งการเรียนรู้และสื่อ คือวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

การวัดและประเมินผล วัดจากการสังเกตเด็ก

บูรณาการโดยเกี่ยวข้องกับวิชาอื่นๆได้


เทคนิคการสอน (Technical Education)
-อาจารย์บอกการเขียนแผนอย่างละเอียด
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-การเขียนแผนการสอนอย่างถูกต้อง
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำการเขียนแผนที่ถูกต้องไปใช้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์บอกข้อบกพร่องของการเขียนแผนของนักศึกษาแต่บอกสิ่งที่ถูกต้อง

Diary Note 27 Octorber 2015

Diary Note No.11


อาจารย์ให้ทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้กระดาษมาแบ่งกันและให้พับ ตัดเป็นรูปดอกไม้สี่แฉกพร้อมระบายสี และให้พับกรีบทั้งสี่กรีบเข้ามาเป็นวงกลม และนำดอกไม้วางในน้ำ จะเห็นได้ว่าดอกไม้จะค่อยๆบาน เนื่องจากน้ำเข้าไปแทนที่กระดาษ ดอกไม้จึงบานออก ดอกไม้ขนาดเล็กจะบานเร็วกว่าขนาดใหม่เพราะมีพื้นที่น้อยน้ำจึงดูดซึมได้เร็วและดีกว่า

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ขวดน้ำมา1 ขวดที่เจาะรูไว้สามรู พร้อมกับน้ำ และให้เทน้ำลงไปในขวดและให้นักศึกษาทายว่ารูไหนจะพุ่งไกลกว่ากัน จากผลการทดลองคือ รูล่างพุ่งไกลที่สุดเพราะมีแรงดันมากกว่ารูอื่นๆส่วนรูบนพุ่งได้น้อย
ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ให้ขวดน้ำและอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นภูเขา อาจารย์ให้เทน้ำใส่ขวดระหว่างเทน้ำ น้ำจะไหลผ่านสายยางและพุงออกเป็นน้ำพุง โดยมีแรงดันจึงทำให้เกิดน้ำพุงและเมื่อน้ำพุ ขึ้นสูงสุดท้าย น้ำที่ขึ้นสูงก็ต้องตกลงสู้ที่ต่ำเสมอ

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 4 อาจารย์ให้หลอดกับเชือกไหมพรม มาโดยให้สอดเชือกใส่เข้าไปในหลอดและเป่า ขณะเป่าเชือกไหมพรมก็จะเคลื่อนที่ออกจากหลอด


กิจกรรมที่ 5 อาจารย์ให้กระดาษพร้อมกับคลิปเสียบกระดาษและให้พับตัด เป็นรูปร่างตามภาพ พอทำเสร็จแล้วก็นำไปโยนขึ้นของบน และอากาศก็จะคอยพยุงให้ลงมาช้าๆ

ภาพกิจกรรม

กิจกรรมที่ 6 จุดเทียนที่มีน้ำอยู่รอบๆ หลังจากนั้นนำแก้วมาครอบเทียน จะเห็นว่าไฟดูดน้ำเข้ามาในแก้วทั้งหมด พอน้ำเข้ามาแทนที่อากาศ เทียนก็จะดับลง
ภาพกิจกรรม

กิจกรรมที่ 7 อาจารย็นำกระจกมาต่อกันสองแผ่นและรูปนำมาวางไว้ จะเห็นว่าจะมีรูปภาพรอบ360องศา เพราะกระจกเกิดการสะท้อนแสง
ภาพกิจกรรม

เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ให้นักศึกษาได้ลงมือทดลองเอง และให้ช่วยกันระดมความคิด
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการทดลอง การประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำของเล่นและการทดลองไปประยุกต์ใช้ได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์และการทดลองอย่างละเอียด





Diary Note 20 Octorber 2015

Diary Note No.10

นำเสนอบทความ
เลขที่ 11 เรื่องทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด

นำเสนอของเล่น การทดลอง และของเล่นตามมุมของแต่ละกลุ่ม
เรื่องบ้าน(home)
เรื่องร่างกาย(body)
เรื่องยานพาหนะ(vehicles)
เรื่องผีเสื้อ(butterfly)


เรื่องดิน(soil)
ของเล่น



นาฬิกาทราย
อุปกรณ์ 
1.ขวดน้ำ 2 ขวด
2.ดินทราย
3.ฝาน้ำ 2 ฝา
4.เทปกาว 

วิธืการทำ
1.ฝาขวดน้ำมาเจาะรู ทั้งสองฝา
2.นำดินทรายใส่ขวดใดขวดหนึ่งปริมาณเท่าไหนก็ได้แล้วแต่เรา และนำฝาขวดมาปิดขวดน้ำ แล้วนำขวดน้ำทั้งสองขวดมาปะกบกัน
3.นำเทปกาวใสใสแปะระหว่างฝาทั้งสองขวดเพื่อให้อยู่ติดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน 

ประสบการณที่ได้รับทางวิทยาศาสตร์
เด็กจะได้รู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ว่าสิ่งของจะอยู่ข้างบนยังงัยสิ่งของก็ต้องตกลงมาอยู่ข้างล่าง เหมือนนาฬิกาทราย ถ้าทรายอยู่ขวดบน ยังไงดินทรายก็จะไหลลงมาอยู่ขวดข้างล่าง


ของเล่นตามมุม


โลกล้มลุก
อุปกรณ์
1.ลูกบอล
2.ดิน
3.กระดาษสี
4กาว
5.กรรไกร
6.ของตกแต่ง
วิธีทำ
1.นำลูกบอลมาตัดแบ่งครึ่งเพื่อเอาแต่ครึ่งเดียวจากนั้น นำดินเหนียวที่เตรียมไว้มาใส่ที่ลูกบอลที่ตัดแบ่งเรียบร้อยแล้ว
2.นำกระดาษสีมาแปะเพื่อตกแต่งตัวโลกล้มลุก

ประสบการณทางวิทยาศาสตร์

เช่นเดียวกับนาฬิกาทรายคือแรงโน้มถ่วง แต่โลกล้มลุกต่อให้เราผลักมันให้ล้มขนาดไหนมันก็จะกลับมาตั้งเป็นรูปร่างเหมือนเดิม เพราะมันมีดินที่คอยถ่วงงมันอยู่ข้างล่าง


การทดลองเรื่องการดูดซึมของดิน







อุปกรณ์
1.ดินทราย ดินเหนียว ดินร่วน
2.ขวดน้ำ 3 ขวด
3.กรรไกร
4.มุ้งลวด
5.กาว

วิธีทำ
1.นำขวดน้ำทั้ง3ขวดมาตัดเอาแต่ช่วงบน และนำฝาน้ำมาเจาะรู 
2.นำมุ้งลวด มาแปะที่ฝาขวดน้ำให้ติดกัน และนำนำขวดที่ตัดช่วงบนไปใส่ช่วงล่างที่ตัดไว้  จากนั้นนำดินทั้งสามชนิดใส่ขวดพร้อมที่จะทดลอง

การทดลอง
นำดินใส่ขวด และนำนำใส่พร้อมกันหลังจากนั้นให้สังเกตว่าดินชนิดไหนสามารถดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด
โดยสังเกตว่า  ถ้าดินชนิดไหนที่มีความหนาแน่นมากน้ำก็จะไหลผ่านได้ยาก แต่ถ้าดินชนิดไหนความหนาแน่นน้อยการดูดซึมของน้ำก็จะดี 
ผลการทดลอง
ดินร่วนน้ำจะดูดซึมได้ดีที่สุด
ดินทรายน้ำดูดซึมได้ช้ากว่าดินร่วน
ดินเหนียวน้ำไม่สามารถดูดซึมได้

ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
เด็กจะรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นของดิน ถ้าดินชนิดไหนที่มีความหนาแน่นมากน้ำก็จะไหลผ่านได้ยาก แต่ถ้าดินชนิดไหนความหนาแน่นน้อยการดูดซึมของน้ำก็จะดี 





เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ให้นักศึกษาฝึกการกล้าแสดงออกในการนำเสนอสิ่งที่ละกลุ่มเตรียมมา และให้ช่วยกันแชร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับของเล่น
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นและการทดลองที่นำเสนอ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำของเล่นและการทดลองไปประยุกต์ใช้ได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์และการทดลองอย่างละเอียด

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 13 Octorber 2015

Diary Note No.9

นําเสนองานวิจัย
เลขที่5 การจัดกจิกรรมส่งเสรมิทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่่6 การคิดเชิงเหตผุลของเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

นําเสนอโทรทัศน์ครู
 เลขที่7 แรงตรึงผิว
 เลขที่8 สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
 เลขที่9 จดุประกายนักวิทยาศาสตร์

นําเสนอของเล่น
กลองแขก    เรื่อง เสียง
คาหนังสติ๊ก  เรื่อง พลังงาน
ปี่กระป๋อง      เรื่อง เสียง

เเบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มแบ่งตามสาระการเรียนรู้แล้วเลือกเนื้อหาสาระที่่จะสอนเด็ก ที่อยู่ในสาระที่เด็กควร
 เรียนรู้แล้วทำเป็น Mind Mapping

สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวเด็ก เรื่อง ดิน

เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ให้นักศึกษาฝึกการกล้าแสดงออกในการนำเสนอสิ่งที่ละคนเตรียมมา
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นและการทดลองที่เพื่อนนำเสนอ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำของเล่นและการทดลองไปประยุกต์ใช้ได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์และการทดลองอย่างละเอียด

Diary Note 6 Octorber 2015

Diary Note No.8

-เลขที่ 4 นำเสนอวิจัย เรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

-นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์


กล้องสลับลาย

อุปกรณ์


•เทปกาว
•กรรไกร
•กระจก 3 แผ่น
•กระดาษฝ้า
•กระดาษสี
•ลูกปัด

•กระดาษห่อตกแต่ง และสิ่งของตกแต่ง

ขั้นตอนการเล่น
ให้มองผ่านช่องที่เจาะไว้ด้านบน ขณะมองให้หมุนกล้องไปเรื่อยๆ ช้าๆ ภาพที่เห็นในกล้องมาจากหลักการสะท้อนของแสง โดยแสงในกล้องสะท้อนจากกระจกแผ่นหนึ่งไปยังกระจก แผ่นอื่นทำให้เกิดภาพที่เห็นมีรูปแบบต่างๆ เมื่อ หมุนกล้องภาพก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยกล้องส่วนใหญ่ใช้กระจกระนาบ วางทำมุม 60 องศา ซึ่งทำให้เกิดเป็นภาพที่เสมือนมีกระจก อยู่ 6 ด้าน เท่าๆ กันทุกด้าน 
ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
  การใช้กล้องจะช่วยเสริมความเข้าใจในเรื่องการสะท้อนของแสง โดย เราจะเห็นภาพรูปทรงแปลกตาขณะที่หมุนกระจกไปมา การมองเห็นภาพที่แปลกตาและน่าอัศจรรย์เหล่านี้เกิดจากแสงสะท้อนไปมาระหว่างกระจกทั้งสามและยังเกิดความเพลิดเพลินกับจินตนาการที่เกิดจากการเห็นภาพในกล้อง อาจเชื่อมโยงไปสู่งานศิลปะ การออกแบบลวดลายต่างๆ ได้อีกด้วย

เทคนิคการสอน (Technical Education)
-ให้นักศึกษาฝึกการกล้าแสดงออกในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
-สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
-นำสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนไปสอนเด็กได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์อย่างละเอียด

Diary Note 29 September 2015

Diary Note No.7

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบ

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

โดย  คุณครูรจนา สังวรสินธุ์ รร.วัดไทรใหญ่ (นนททิวากรราษฎร์บำรุง)


               การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ เป็นการจัดกิจกรรมบูรณาการทุกกิจกรรมพื้นฐานต่างๆเข้าด้วยกันได้ดี เป็นการฝึกให้เด็กได้พูดทำให้มีพัฒนาการทางภาษาจากการตอบคำถาม การสนทนาซักถามและการเล่านิทาน ทักษะวิทยาศาสตร์โดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการสังเกต ไข่ที่มีสีและขนาดต่างๆกันและส่งเสริมกระบวนการคิดโดยให้เด็กดูรูปภาพและให้เด็กตอบเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิมที่เด็กมี ทำให้เด็กได้มีทักษะคณิตศาสตร์ในการนับจำนวน สังเกต จำแนกความเหมือนความต่าง และได้เรียนรู้เกียวกับเปรียบเทียบขนาดและรู้จักว่าไข่ในตะกร้าไหนมาก ไข่ในตะกร้าไหนมีจำนวนน้อย และขณะที่เด็กร่วมทำกิจกรรมคุณครูยังส่งเสริมเด็กด้วยการให้คำชมเชยและชวนให้เด็กปรบมือให้กับเด็กที่ออกมาแยกไข่ใส่ตะกร้า เป็นการส่งเสริมความกล้าแสดงออกและเพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก ทำให้เด็กเกิดความกล้าในการเข้าร่วมกิจกรรม กล้าคิด กล้าพูด กล้าตอบ โดยไม่รู้สึกเขินอาย และการสอนของคุณครูยังทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเช่นในการชิมรสชาติของไข่เค็ม เด็กได้เห็นลักษณะของไข่เยี่ยวม้า และไข่เค็มที่คุณครูผ่าให้เด็กดู เด็กได้ลงมือตอกไข่และทำไข่หวานด้วยตัวเองทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งจากการได้ลงมือทำด้วยตนเองทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง